การชน
หมายถึง การที่วัตถุหนึ่งไปกระทบกับอีกวัตถุหนึ่งในช่วงสั้นๆ หรืออาจจะไม่กระทบกัน แต่มีแรงมากระทำ เช่น ตีลูกบอล ยิงปืน ระเบิด เป็นต้น
การชนขณะที่มีแรงภายนอกมากระทำน้อยมากเมื่อเทียบกับขนาดแรงดล โมเมนตัมของระบบจะมีค่าคงที่ เช่น การชนของลูกสนุกเกอร์
การชนขณะที่มีแรงภายนอกมากระทำมากเมื่อเทียบกับขนาดแรงดล โมเมนตัมของระบบจะมีค่าไม่คงที่ เช่น รถยนต์ชนต้นไม้
ถ้าหากพิจารณาทิศทางของการชนเป็นหลักแล้ว ในบทเรียนนี้จะมีการชนสองรูปแบบคือ
- การชนแบบ 1 มิติ คือ การชนของวัตถุที่อยู่ในระนาบเดียวกัน เมื่อมีการชนแล้วการเคลื่อนที่ของวัตถุทั้งสองก็จะอยู่ในแนวเดียวกัน เนื่องจากเป็นการชนผ่านจุดศูนย์กลางมวล
- การชนแบบ 2 มิติ คือ การชนของวัตถุที่อยู่ในระนาบเดียวกัน เมื่อมีการชนแล้วการเคลื่อนที่ของวัตถุทั้งสองจะไม่อยู่ในแนวเดียวกัน
การชนในแบบ 2 มิตินั้น จะมีโมเมนตัมคงเดิม แต่พลังงานจลน์จะคงเดิมหรือไม่แล้วแต่กรณี เราจึงแบ่งการชนเป็น 2 ประเภท คือ
1. การชนแบบยืดหยุ่น คือ การชนที่ไม่มีการสูญเสียพลังงานจลน์
![]() ![]() และ พลังงานรวมก่อนชน =พลังงานรวมหลังชน |
การชนกันของวัตถุเมื่อความเร็วอยู่ในแนวผ่านจุดศูนย์กลางมวล

การชนในแนวเส้นตรงเมื่อวัตถุถูกชนอยู่นิ่งจะได้

2. การชนแบบไม่ยืดหยุ่น คือ การชนที่พลังงานจลน์ไม่คงที่
![]() ![]() แต่ พลังงานรวมก่อนชน ![]() |
กรณีที่มวล
เคลื่อนที่เข้าชนมวล
ทำให้มวลเปลี่ยนรูปแล้วเคลื่อนที่ไปด้วยกันด้วยความเร็ว v ดังรูป



จากกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม การชนแบบไม่ยืดหยุ่นมีความสัมพันธ์ ดังสมการ
จะได้
![]() |
การชนแนวเฉียง
การชนในแนวเฉียงหมายถึงการชนที่ไม่ผ่านจุดศูนย์กลางมวลของวัตถุทั้งสองก้อนทำให้การชนอยู่ใน 2 มิติดังรูป

การชนแนวเฉียงจะมีความสัมพันธ์ตามสมการ
![]() |
พลังงานที่สูญหายไปในการชน
การชนแบบไม่ยืดหยุ่น พลังงานจลน์รวมของระบบก่อนชนไม่เท่ากับพลังงานจลน์รวมหลังชน ส่วนหนึ่งของพลังงานสูญหายไปเป็นพลังงานความร้อนหรือพลังงานเสียงที่เกิดขึ้นขณะชนกัน
พลังงานจลน์ที่หายไปในการชน = พลังงานจลน์รวมก่อนชน - พลังงานจลน์รวมหลังชน
การวัดความเร็วของกระสุนปืนด้วย ballastic pendulum
Ballastic pendulum เป็นวัตถุ เช่น ถุงทรายห้อยแขวนด้วยเชือกติดกับเพดานดังรูป ซึ่งสามารถเหวี่ยงตัวได้อย่างอิสระ

จากรูป ลูกปืนมวล m วิ่งเข้าชนถุงทรายมวล M ด้วยความเร็ว u ถุงทรายห้อยแขวนด้วยเส้นเชือกติดกับเพดาน การชนเป็นแบบไม่ยืดหยุ่น โดยลูกปืนฝังเข้าไปในถุงทรายและเคลื่อนที่เหวี่ยงตัวไปด้วยกันด้วยความเร็ว v เราสามารถหาค่าความเร็วของลูกปืนก่อนชนได้จากความสัมพันธ์
![]() |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น